บริการประชาชน

เบี้ยยังชีพ


  • ตรวจสอบการรับเบี้ย
  • การขึ้นทะเบียน
กรอกเลขบัตรประชาชน ตัวอย่าง: 9-9999-99999-99-9 *
หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ, คนพิการ, ผู้ป่วยเอดส์หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ขึ้นทะเบียนรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
( รับขึ้นทะเบียนทุกเดือนพฤศจิกายนของทุกปี )
ตั้งแต่วันที่ 1 – 30 พฤศจิกายน ของทุกปี ในวันและเวลาราชการ
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
1. สัญชาติไทย
2. มีอายุ 59 ปีบริบูรณ์ขึ้น (ในกรณีที่ทะเบียนราษฎร์ระบุเฉพาะปีเกิด ให้ถือว่าบุคคลนั้นเกิดวันที่ 1 มกราคมของปีนั้น เช่น เกิด พ.ศ. 2497 ให้ถือว่าเกิดวันที่ 1 มกราคม 2497
3. มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอบต.แคนเหนือ
4. ไม่ เป็นผู้ที่ได้รับสวัสดิการ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเทศบาล อบต. ได้แก่ ผู้รับเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ที่ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐ หรือเทศบาล อบต. จัดให้เป็นประจำ ยกเว้น ผู้พิการและผู้ป่วยเอดส์ตามระเบียบ

เอกสารที่จำเป็นต้องใช้
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ชุด
2. สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด
3. สำเนาสมุดบัญชีธนาคารกรุงไทย หรือ ธนาคาร ธ.ก.ส. จำนวน 1 ชุด

ผู้อื่นยื่นเอกสารแทนผู้สูงอายุได้หรือไม่???
   สามารถยื่นเอกสารแทนผู้สูงอายุได้ และหากผู้สูงอายุมีความประสงค์โอนเงินเข้าบัญชีผู้อื่น ต้องมีหนังสือมอบอำนาจตัวจริง พร้อมสำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ อย่างละ 1 ชุด

ยื่นเอกสารแล้วจะได้รับเงินเมื่อไหร่????
   ผู้สูงอายุที่ขึ้นทะเบียนไว้ ตั้งแต่วันที่ 1- 30 พฤศจิกายน ของทุกปี จะได้รับเงินเบี้ยยังชีพ เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ของปีถัดไป (ไม่มีการจ่ายย้อนหลัง)

ผู้สูงอายุแต่ละคนจะได้รับเงินเท่าไหร่??
ปัจจุบันได้จ่ายแบบขั้นบันได ดังนี้
อายุ 60 -69 ปี จะได้รับ 600 บาท
อายุ 70 -79 ปี จะได้รับ 700 บาท
อายุ 80 -89 ปี จะได้รับ 800 บาท
อายุ 90 ปีขึ้นไป จะได้รับ 1,000 บาท

หมายเหตุ : ในกรณีผู้สูงอายุที่มีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพ ผู้สูงอายุย้ายทะเบียนบ้านให้เทศบาล หรือ อบต. ที่เคยจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเดิมยังคงจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจนกว่า จะสิ้นสุดปีงบประมาณนั้น คือเดือนกันยายน หากมีความประสงค์จะรับเบี้ยยังชีพกับเทศบาล หรือ อบต. แห่งใหม่ ต้องไปจดทะเบียนเพื่อขอรับเบี้ยยังชีพที่เทศบาล หรือ อบต.แห่งใหม่ ภายในวันที่ 1 -30 พฤศจิกายนของทุกปี และเริ่มรับเงินที่ใหม่ในเดือนตุลาคม ของปีถัดไป

!!! เอกสารต้องลงลายมือชื่อ สำเนาถูกต้องทุกฉบับ

!!! ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเขียนได้ ให้พิมพ์ลายมือแทน

การขอรับเงินสงเคราะห์ในการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี
  การสงเคราะห์ในการจัดการศพผู้สูงอายุ หมายถึง การช่วยเหลือเป็นเงินในการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณีรายละ 2,000 บาท การสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณีนั้น ผู้สูงอายุที่เสียชีวิตต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1. มีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
2. มีสัญชาติไทย
3. มีชื่ออยู่ในเขตอบต.แคนเหนือ

การยื่นเรื่องขอเงินสงเคราะห์การจัดการศพตามประเพณี
ผู้ยื่นคำขอต้องเป็นบุคคลที่รับผิดชอบในการจัดการศพผู้สูงอายุ โดยต้องยื่นคำขอที่อบต.แคนเหนือ ในวันทำการ

ใช้หลักฐานอะไรบ้างในการยื่นคำขอ?
1. ใบมรณะบัตรของผู้สูงอายุฉบับจริง พร้อมสำเนา 2 ชุด
2. บัตรประจำตัวประชาชน ผู้ยื่นคำขอ พร้อมสำเนา 2 ชุด
สำคัญมาก!!!!!! ผู้ยื่นคำขอรับการสงเคราะห์จัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณีต้องยื่นคำขอภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ออกใบมรณะบัตร

การขอมีบัตรความพิการ จดทะเบียนความพิการได้ที่ไหน?

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดขอนแก่น

ใช้เอกสารอะไรบ้างในการจดทะเบียนความพิการ
1. เอกสารรับรองความพิการโดยแพทย์สถานพยาบาลจากทางราชการ
2. บัตรประจำตัวประชาชน ในกรณีเป็นเด็กใช้สูติบัตร พร้อมทั้งถ่ายสำเนา จำนวน 1 ชุด (กรณียื่นแทนให้นำบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้ยื่นแทนมาด้วย)
3. ทะเบียนบ้านฉบับจริง พร้อมถ่ายสำเนา จำนวน 1 ชุด
4. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป หลังจากจดทะเบียนความพิการแล้วเทศบาลจะช่วยเหลืออย่างไร?

นำบัตรประจำตัวคนพิการมาขึ้นบัญชี เพื่อขอรับเงินความพิการที่ งานพัฒนาชุมชน สำนักปลัด อบต.แคนเหนือ จะมีเจ้าหน้าที่คอยให้คำปรึกษา และแนะนำการขึ้นบัญชีเพื่อขอรับเงินเบี้ยยังชีพความพิการ

จดทะเบียนเบี้ยความพิการ ( รับขึ้นทะเบียนทุกเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ) ตั้งแต่วันที่ 1 – 30 พฤศจิกายน ของทุกปี ในวันและเวลาราชการ

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยชีพความพิการ
1. สัญชาติไทย
2. มีบัตรประจำตัวคนพิการ
3. มีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร์อบต.แคนเหนือ
4. ไม่เป็นบุคคลซึ่งอยู่ในความอุปการะของสถานสงเคราะห์ของรัฐ
5. ใน กรณีผู้พิการเป็นผู้ซึ่งต้องขังหรือจำคุกอยู่ในเรือนจำ ทัณฑสถาน หรือสถานคุมขังของกรมราชทัณฑ์ หรือเป็นผู้ซึ่งถูกควบคุมอยู่ในสถานพินิจและและคุ้มครองเด็กและเยาวชน หรือศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน ให้ไปลงทะเบียนและยื่นคำขอรับเบี้ยความพิการต่อผู้บังคับบัญชาการ หรือผู้อำนวยการตามสถานที่ที่อยู่

ใช้หลักฐานอะไรบ้าง??
1. สำเนาบัตรประจำตัวคนพิการ จำนวน 1 ชุด
2. สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด
3. สำเนาสมุดบัญชีธนาคารกรุงไทย หรือ ธนาคาร ธ.ก.ส. จำนวน 1 ชุด

หลักฐานสำหรับผู้อื่นที่มายื่นแทน
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ชุด
2. สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด
3. หนังสือมอบอำนาจ จำนวน 1 ชุด

ขึ้นทะเบียนเมื่อไหร่??
ยื่นเอกสาร ตั้งแต่วันที่ 1 -30 พฤศจิกายน ของทุกปี เวลาราชการ

ยื่นเอกสารแล้วได้รับเงินเมื่อไหร่??
ผู้พิการที่ขึ้นทะเบียนไว้ ตั้งแต่วันที่ 1- 30 พฤศจิกายน ของทุกปี จะได้รับเงินเบี้ยยังชีพ เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ของปีถัดไป (ไม่มีการจ่ายย้อนหลัง)
!!!เอกสารต้องลงลายมือชื่อ สำเนาถูกต้องทุกฉบับ
!!! ผู้พิการที่ไม่สามารถเขียนได้ ให้พิมพ์ลายมือแทน 

การขอรับเงินผู้ป่วยเอดส์หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ผู้ป่วยเอดส์ คือ ผู้ป่วยที่แพทย์ได้รับรอง และทำการวินิจฉัยแล้ว

คุณสมบัติที่จะได้รับเบี้ยยังชีพผู้ป่วยฯ
1. มีชื่ออยู่ในเขตอบต.แคนเหนือ
2. มีใบรับรองแพทย์ ( แพทย์ต้องระบุว่าเป็นผู้ติดเชื้อเอดส์ )

ใช้เอกสารอะไรบ้าง?
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ชุด
2. สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด
3. สำเนาสมุดบัญชีธนาคารกรุงไทย หรือ ธนาคาร ธ.ก.ส. จำนวน 1 ชุด

การยื่นคำขอรับการสงเคราะห์
สามารถยื่นเอกสารได้ด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นแทนได้

จะได้รับการสงเคราะห์เท่าไหร่?
จะได้รับเงินสงเคราะห์เดือนละ 500 บาท